มิถุนายน 2556 ถึง กรกฎาคม 2562
เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในงาน
บ.เอเบิล ซาโ่น่ อินดัสตรีส์(1996) จำกัด (ในเครือ อาปิโก กรุ๊ป)
98 ม.1 ต.บ้านเลน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา 13160
สำหรับสมาชิกเท่านั้น
1.ควบคุมดูแลความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน
2.ควบคุมตรวจสอบการเข้ามาทำงานของผู้รับเหมาและผู้ปฏิบัติงานจากภายนอกที่เข้ามาทำงานในบริษัท
- อบรมผู้รับเหมาก่อนเริ่มงานทำงานเพื่อแจ้งระเบียบต่างๆ
- ความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ที่นำเข้ามาใช้
- ความพร้อมของตัวบุคลากร (PPE,สุุขภาพ, ผู้ควบคุมงาน)
- ประเมินความเสี่ยงของงานที่กระทำงานวันนั้น
- ตรวจสอบประจำวันในจุดที่มีการทำงาน
3.ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของเครื่องจักรในโรงงาน( ก่อนและหลังติดตั้ง)
4.จัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมประจำปี
5.ฝึกอบรมพนักงานใหม่และเก่า เกี่ยวกับกิจกรรมด้านความปลอดภัยและกิจกรรมอื่นๆจากลูกค้า เช่น ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี , อันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักร , กิจกรรม CCCF , กิจกรรม hiyari hatto , กิจกรรม TCC
, การประเมินคามเสี่ยงการทำงานตามมาตรฐานของลูกค้า เป็นต้น
6.ฝึกอบรมพนักงาน เกี่ยวกับกิจกรรมและระบบด้านสิ่งแวดล้อมISO กิจกรรมจากลูกค้า เช่น การวิเคราะห์จัดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม , การประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการทำงาน , กิจกรรมลดการปลดปล่อย CO2 , การคัดแยกทิ้งขยะของเสีย เป็นต้น
7.ดำเนินกิจกรรมและฝึกอบรมสร้างทักษะอื่นๆ เช่น กิจกรรม 5ส ,กิจกรรม Kaizen , กิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน , กิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัย เป็นต้น
8.ตรวจสอบสาเหตุ วิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและรายงานนายจ้าง
9.นำส่งตัวผู้ประสบอุบัติเหตุไปยังโรงพยาบาลพร้อมติดตามผล
10.จัดส่งแบบ กท.16 และ กท.44 แก่โรงพยาบาลและประกันสังคม
11.จัดทำแผนการตรวจวัด ประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน (แสง,เสียง, ความร้อน, อากาศ, น้ำ)
12.อัพเดททะเบียนกฎหมายด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และพันธะที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องการ
13.เข้าประชุมร่วมกับลูกค้าทั้งในส่วนที่ลูกค้าเข้ามาภายในโรงงาน และที่ลูกค้าเชิญไปประชุมภายนอก
14.ดำเนินการขับเคลื่อนระบบมาตรฐาน ISO 14001 ของโรงงาน
15.รับการ ตรวจสอบจากลูกค้า และหน่วยงานราชการ
16.ตรวจสอบรับรองการทำงานของ ผู้รับเหมาช่วง ที่ รับงานจากบริษัทไป
17.จัดทำแผนและฝึกอบรมแผนฉุกเฉินในกรณีต่างๆ เช่น ไฟไหม้ , สารเคมีรั่วไหล , หม้อน้ำระเบิด , น้ำท่วม เป็นต้น
18.ดำเนินการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยผ่านทางคณะกรรมการความปลอดภัยโรงงงาน (คปอ.)
19.จัดหาผู้รับดำเนินการจัดการของเสียของโรงงานทั้งในส่วน ขยะมูลฝอย , ขยะรีไซเคิล( เศษโลหะชนิดต่างๆ) , ขยะอันตราย
(ภาชนะและวัสดุปนเปื้อนสารเคมี น้ำเสียและสารเคมี้เหลว)
20.ควบคุมจัดการดำเนินการจำหน่ายวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และจ่ายเงินในส่วนของเสียที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
21.รายงานขออนุญาตขยะอุตสาหกรรมต่อกรมโรงงาน ต่อใบอนุญาตรายปี และดำเนินการแจ้งปริมาณนำออก
22.ติดต่อหน่วยงานราชการและการนิคม ดำเนินเอกสารที่จำเป็น เช่น การแจ้งเริ่มประกอบกิจการ , การแจ้งขอใช้ที่ดินเพื่อ
ประกอบกิจการ , การขอต่อเติมอาคารในกรณีต่างๆ , ใบประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นต้น
23.รายงานเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานรัฐ เช่น แบบรายงานสารเคมีอันตาย , แบบรายงานสภาพแวดล้อมภายในสถานประกอบการ , แบบรายงานตรวจสอบอาคารประจำปี เป็นต้น
24.ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรม 5ส และ kaizen เพื่อใช้พื้นฐานและพัฒนาด้านความปลอดภัยของโรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของโรงงาน
25.ควบคุมและประเมิน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ของโรงงาน
26.ดำเนินงานกิจกรรมที่ลูกค้าเรียกร้องให้ทำอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมความปลอดภัย CCCF , กิจกรรมความปลอดภัยเครื่องจักร TCC , กิจกรรมระบบสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน เป็นต้น
27.ควบคุมการใช้งานสารเคมีและแจ้งขออนุญาต เช่น การใช้งานสาร Solvent ต้องแจ้งขออนุญาตยกเว้นภาษีและแจ้งรายงานสารเคมีประเภทวัตถุไวไฟ เป็นต้น